วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

MPLS (Multiprotocol Label Switching)

MPLS เกิดขึ้นมาเพื่อลดOverheadในการใช้งานVirtual Circuit บนเครือข่าย TCP/IPลงให้มากที่สุด เป็นงานที่เรียกว่าวิศวกรรมควบคุมการจราจรบนเครือข่ายนั่นเอง ซึ่งจะเป็นการผนวกเครือข่ายATMซึ่งเป็นเครือข่ายแบบ Virtual Circuit Switchingและใช้ATM Switching ในเลเยอร์ที่2เป็นหลัก เข้ากับเครือข่ายTCP/IPซึ่งเป็นเครือข่ายแบบPacket Switching และใช้ Routerในเลเยอร์ที่3เป็นหลักเข้าด้วยกันการทำวิศวกรรมควบคุมการจราจรบนเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ จากเดิมที่โปรโตคอลสำหรับการกำหนดเส้นทางส่วนใหญ่ในเครือข่ายจะมองในส่วนของระยะทางเป็นหลัก แต่สำหรับ MPLSแล้วจะมองที่ความสามารถในการไหลไปยังปลายทางของข้อมูลเป็นหลักแทนและมีกระบวนการกำหนดเส้นทางที่ฉลาดว่าผสมกับการใช้งานแบบ Steamlineแทนการส่งแบบConnectionless ทำให้สามารถแก้ปัญหาการจราจรบนเครือข่ายได้เป็นอย่างดีความสามารถในการควบคุมคุณภาพการบริการ (Qos:Quality of Service) เนื่องจากMLPSมีการส่งแบบStreamlineทำให้สามารถรับประกันเกี่ยวกับปริมาณข้อมูลต่อเวลาได้อย่างดีเพื่อใช้งานในลักษณะ Real-Timeเช่น การถ่ายทอดภาพและเสียงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้โดยทั้งภาพและเสียงคุณภาพใกล้เคียงกับคุณภาพที่ได้จากการชมโทรทัศน์หรือฟังวิทยุเลยทีเดียว
การทำงานของ MPLS
ตัวอย่างวิศวกรรม ควบคุมการจราจรบนเครือข่ายด้วย MPLS
หลักการทำงานของ MPLS โดยสังเขปคือการสร้างระบบจัดเส้นทางของ Packet หรือการ Routing ขึ้นใหม่ภายในบริเวณของเครือข่ายที่กำหนด ซึ่งจะขอเรียกเส้นทางนี้ว่า LSP (Label Switch Path) โดยภายนิขอบเขตนี้ Packet ที่วิ่งเข้ามาจะถูกกำหนด Label ประจำตัวให้ใหม่ โดยไม่สนใจ Header เดิม (ซึ่งอาจเป็นของ TCP/IP) จากนั้นจึงวิ่งไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ใน LSP สำหรับ Label ชุดนั้นๆ ซึ่งเส้นทางนี้เป็นไปได้ทั้งการกำหนดตายตัวล่วงหน้า และการกำหนดแบบเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่าโปรโตคอลในการกำหนดเส้นทางของข้อมูลที่ใช้อยู่เดิมในเครือข่าย TCP/IP เช่นมีการคำนวณจากจำนวน hop ที่ส่งคำนวณจากเวลาที่ใช้น้อยที่สุด หรือพยายามให้ได้ตามเวลาจริง (Real-Time) เช่นสำหรับการส่งข้อมูลมัลติมีเดียและอื่นๆอีกมาก การทำงานจะทำได้เร็วกว่า Routing แบบเดิมเพราะ การคำนวณเพื่อจัดเส้นทางจะทำไว้ล่วงหน้า และเป็นอิสระจากการรับส่งข้อมูลแต่ละ Packet คือมีหน้าที่จัดเส้นทางใหม่ก็จัดไป เมื่อจัดเสร็จก็เก็บไว้ใช้งาน ส่วนหน้าที่รับส่งข้อมูลก็ทำไปเช่นกันไม่ยุ่งเกี่ยวกัน เมื่อมีข้อมูลเข้ามาถึงจะนำเส้นทางที่ได้เตรียมไว้มาใช้รับส่งข้อมูล เมื่อข้อมูลวิ่งมาถึงปลายสุดของ LSP ก็จะนำ Label ออกจาก Packet และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Header เดิมของ Packet ทำหน้าที่นำข้อมูลส่งถึงปลายทางที่แท้จริง
ข้อดีของMLPSคือ
1.มีความเสถียรและปลอดภัยสูงในการรับ-ส่งข้อมูล
2.มีปริมาณช่องสัญญาณ (Bandwidth) มากถึง 10 Gbps เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มธุรกิจโดยเฉพาะ
3.สามารถเลือกความเร็วได้ตั้งแต่ 64 Kbps-1 Gbps
4.พร้อมรองรับ IP Application ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น VOIP, Routing Protocol, QoS, Multicast และ VDO Conference เพื่อตอบสนองชีวิตการทำงาน แบบที่จะเป็นที่นิยมในอนาคต โดยการรวมเทคโนโลยีต่างๆ ไว้เข้าด้วยกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน